ประวัติความเป็นมาของกังหันน้ำชัยพัฒนา

ประวัติความเป็นมา

กังหันน้ำชัยพัฒนา

                พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรที่ประสบปัญหาจากนำ้เน่าเสีย พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพนำ้เสียในพื้นที่หลายแห่งหลายครั้ง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด พร้อมทั้งพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขนำ้เน่าเสีย
                 ในระยะแรก ระหว่าง พ.ศ.2527-2530 ทรงเน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการพัฒนา ได้พระราชทานแนวทางปฏิบัติที่เรียบง่ายและเหมาะสม ตั้งแต่แนวคิดเรื่อง "นำ้ดีไล่นำ้เสีย" ด้วยหลักการแก้ไขโดยใช้นำ้ที่มีคุณภาพดีจากแม่นำ้เจ้าพระยาช่วยผลักดันและเจือจางนำ้เสียให้ออกจากแหล่งนำ้ชุมชนตามคลองต่างๆ โดยวิธีเปิดประตูอาคารควบคุมนำ้ เพื่อรับนำ้จากแม่นำ้เจ้าพระยาในจังหวะนำ้ขึ้น และปล่อยออกสู่แม่นำ้เจ้าพระยาในระยะนำ้ลง หรือการทดลองใช้ผักตบชวากรองนำ้เสียในบึงมักกะสัน ซึ่งพระองค์มีพระราชกระแสในเรื่องนี้ว่าเป็นการใช้ "อธรรมปราบอธรรม" นั่นคือ การใช้วัชพืชซึ่งต้องกำจัดทิ้งอย่างผักตบชวา ที่มีคุณสมบัติดูดซับโลหะหนัก มาทำหน้าที่เป็นตัวกรองสารพิษและความโสโครก โดยต้องหมั่นนำผักตบชวาออกจากบึงทุกๆ 10 สัปดาห์ เพื่อไม่ให้ผักตบชวามีการเจริญพันธ์ุจนบดบังแสงแดดที่จะส่องลงไปในบึง

อ้างอิง : กังหันน้ำชัยพัฒนา. 2560. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ประโยชน์ของศาสตร์พระราชาเรื่อง กังหันน้ำชัยพัฒนา

ส่วนประกอบของกังหันน้ำชัยพัฒนา