บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2017

ส่วนประกอบของกังหันน้ำชัยพัฒนา

รูปภาพ
ส่วนประกอบของกังหันน้ำชัยพัฒนา กังหันชัยพัฒนา เป็น  เครื่องกล เติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบ ทุ่นลอย  (สามารถลอยขึ้นลงได้เองตามระดับน้ำ) ประกอบด้วยซองวิดน้ำ มี ใบพัด ที่ออกแบบเป็น ซองตักน้ำรูปสี่เหลี่ยมคางหมูจำนวน 6 ซองแต่ละซองจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ห้องเท่าๆ กัน ทั้งหมดถูกติดตั้งบนโครงเหล็ก 12 โครงใน 2 ด้าน มีศูนย์กลางของกังหันที่เรียกว่า "เพลากังหัน" ซึ่งวางตัวอยู่บนตุ๊กตารองรับเพลา ที่ติดตั้งอยู่บนทุ่นลอย และมีระบบขับส่งกำลัง ด้วยเฟืองจานขนาดใหญ่ ใช้ มอเตอร์ ไฟฟ้าขนาด 2  แรงม้า  สำหรับขับเคลื่อนซองน้ำ ให้หมุนรอบเป็นวงกลม อยู่บนโครงเหล็กที่ยึดทุ่นทั้ง 2 ด้านเข้าไว้ด้วยกัน  ด้านล่างของกังหันในส่วนที่จมน้ำ จะมีแผ่น ไฮโดรฟอยล์ ยึดปลายของทุ่นลอยด้านล่าง อ้างอิง :   วิกิพีเดีย.  2560. กังหันน้ำชัยพัฒนา. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/กังหันน้ำชัยพัฒนา. (20 ธันวาคม 2560).

พระราชดำริเกี่ยวกับโครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา

รูปภาพ
พระราชดำริ เกี่ยวกับโครงการกังหันน้ำชัยพัฒนา               เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2531 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหาน้ำเสีย โดยการเติมออกซิเจนในน้ำ มีสาระสำคัญคือ  การเติมออกซิเจนในน้ำมี 2 วิธี คือ               วิธีที 1 ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อเป่าลงไปใต้ผิวน้ำแบบกระจายฟอง  และ  วิธีที่ 2 น่าจะกระทำได้โดยกังหันวิดน้ำ วิดตักขึ้นไปบนผิวน้ำ แล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวน้ำตามเดิม  โดยที่กังหันน้ำดังกล่าวจะหมุนช้า ๆ ด้วยกำลังของมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นฝอย ซองน้ำนี้จะถูกขับเคลื่อนให้หมุนโดยรอบ  ด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด  2  แรงม้า  ระบบแรงดัน 380 โวลต์  3 เฟส 50 เฮิร์ท  ผ่านระบบส่งกำลังด้วยเฟืองเกียร์ทดรอบและ/หรือจานโซ่  ซึ่งจะทำให้การหมุนเคลื่อนที่ของซองน้ำวิดตักน้ำด้วยความเร็ว 5 รอบ/นาที สามารถวิดน้ำลึกลงไปใต้ผิวน้ำ  ประมาณ 0.50 เมตร ยกน้ำขึ้นไปสาดกระจายเป็นฝอยเหนือผิวน้ำด้วยความสูงประมาณ 1.00 เมตร ทำให้มีพื้นที่ผิวสัมผัสระหว่างน้ำกับอากาศกว้างขวางมากขึ้น เป็นผลทำให้ออกซิเจนในน้ำละลายเข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว และในขณะที่นำเสียถูกยกขึ้นไป

"กังหันน้ำชัยพัฒนา" สิทธิบัตรพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก

รูปภาพ
"กังหันน้ำชัยพัฒนา" สิทธิบัตรพระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงประดิษฐ์กังหันน้ำชัยพัฒนา เพื่อแก้ปัญหาน้ำเสีย ซึ่งสิ่งประดิษฐ์นี้นับเป็นเครื่องที่ 9 ของโลกที่ได้รับสิทธิบัตรและเป็นครั้งแรกที่มีการรับจดทะเบียนและออกสิทธิบัตรถวายแด่พระมหากษัตริย์พระองค์แรกของโลก "หลุก" อุปกรณ์วิดน้ำเข้านาภูมิปัญญาชาวบ้าน เป็นแนวคิดในการสร้างเครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย หรือกังหันน้ำชัยพัฒนาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงคิดค้นขึ้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำเสีย โดยให้มูลนิธิชัยพัฒนาและกรมชลประทานร่วมศึกษาและวิจัยสิ่งประดิษฐ์ใหม่นี้ โดยเน้นประหยัดค่าใช้จ่าย ผลิตเองในประเทศที่มีรูปแบบไทยทำไทยใช้ หลักการทำงานกังหันน้ำชัยพัฒนา สามารถปรับตัวขึ้นลงได้ตามระดับขึ้นลงของน้ำ โดยมีโครงกังหันรูป 12 เหลี่ยม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เมตร มีซองน้ำขนาดบรรจุ 110 ลิตร ติดตั้งโดยรอบทั้งหมด 6 ซอง โดยมีการเจาะรูซองน้ำเป็นรูพรุนเพื่อให้น้ำไหลกระจ่ายเป็นฝอย นายพนมกร ไทยสันติสุข หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนางานด้านเครื่องกล กรมชลประทาน ร

เครื่องกลเติมอากาศ 9 แบบของกังหันน้ำชัยพัฒนา

รูปภาพ
เครื่องกลเติมอากาศ 9 แบบ ของกังหันน้ำชัยพัฒนา               ในระยะเวลา 10 เดือนหลักจากมีพระราชดำริเกี่ยวกับเครื่องมือบำบัดน้ำเสียได้มีการพัฒนาต้นแบบ เครื่องกลเติมอากาศทั้งหมด 9 แบบ ได้แก่ โมเดล RX1-RX9 โดย RX ย่อมาจาก Royal Periment RX-1 เครื่องกลเติมอากาศระบบเป่าอากาศลงไปในน้ำและกระจายฟอง RX-2 เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบหุ่นลอย(กังหันน้ำชัยพัฒนา) RX-3 เครื่องเติมอากาศระบบเป่าอากาศหมุนใต้น้ำ(ชัยพัฒนาซุปเปอร์ฟองแอร์) RX-4 เครื่องกลเติมอากาศแรงดันน้ำ(ชัยพัฒนาเวนจูรี่) RX-5 เครื่องกลเติอากาศระบบอัดและดูดอากาศลงใต้น้ำ(ชัยพัฒนาแอร์เจท) RX-6 เครื่องกลเติมอากาศแบบดีน้ำสัมผัสอากาศ(เครื่องดีน้ำชัยพัฒนา) Rx-7 เครื่องกลเติมอากาศแบบดูดและอัดน้ำลงไป(ชัยพัฒนาไฮโดรแอร์) RX-8 เครื่องมือจับเกาะจุลินทรีย์(ชัยพัฒนาไบโอ) RX-9 เครื่องกลเติมอากาศแบบกระจายน้ำสัมผัสอากาศ(น้ำพุชัยพัฒนา) อ้ างอิง:กังหันน้ำชัยพัฒนา.2560.กรุงเทพฯ:สถาพรบุคส์.

การศึกษา วิจัย และพัฒนากังหันน้ำชัยพัฒนา

รูปภาพ
การศึกษา วิจัย และพัฒนา กังหันน้ำชัยพัฒนา                     กรมชลประทานรับสนองพระราชดำริในการศึกษาและสร้างต้นแบบ โดยดัดแปลงเครื่องสูบน้ำพลังน้ำจาก "กังหันน้ำสูบน้ำทุ่นลอย" เปลี่ยนเป็น "กังหันน้ำชัยพัฒนา" และได้นำไปติดตั้งใช้ในกิจกรรมบำบัดน้ำเสียที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2532 และที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2532 เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นระยะเวลา 4-5 ปี อ้างอิง : มูลนิธิชัยพัฒนา. 2560. กังหันน้ำชัยพัฒนา. [ระบบออนไลน์].  http://www.chaipat.or.th/site_content/19-248/18-chaipattana-water-turbine-development.html. (19 ธันวาคม 2560).

คุณสมบัติของกังหันน้ำชัยพัฒนา

รูปภาพ
 คุณสมบัติ กังหันน้ำชัยพัฒนา             กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอย ( Chaipattana Low Surface Aerator) ซึ่งเป็น Model RX-2 หมายถึง Royal Experiment แบบที่ 2 มีคุณสมบัติในการถ่ายเทออกซิเจนได้สูงถึง 1.2 กิโลกรัมของออกซิเจน/แรงม้า/ชั่วโมง สามารถนำไปใช้ในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพน้ำได้อย่างอเนกประสงค์ ติดตั้งง่าย เหมาะสำหรับใช้ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ได้แก่ สระน้ำ หนองน้ำ คลอง บึง ลำห้วย ฯลฯ  ที่มีความลึกประมาณ 1.00 เมตร และมีความกว้างมากกว่า 3.00 เมตร อ้างอิง : มูลนิธิชัยพํฒนา. 2560.  โครงการกังหันชัยพัฒนา - บำบัดน้ำเสีย. [ระบบออนไลน์].  http://www.tsdf.or.th/th/royally-initiated-projects/10774-กังหันน้ำชัยพัฒนา-พศ-2531/. (19 ธันวาคม 2560).

หลักการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา

รูปภาพ
          หลักการทำงานของกังหันน้ำชัยพัฒนา           ใช้หลักการวิดน้ำขึ้นไปสาดกระจายให้เป็นฝอยในอากาศ   กังหันชัยพัฒนา เป็นกังหันน้ำที่มีโครงเป็นรูปเหลี่ยมบนทุ่นลอย และมีซองตักวิดน้ำซึ่งเจาะเป็นรูพรุน เราจึงเห็นสายน้ำพรั่งพรู จากซองวิดน้ำขณะที่กังหันหมุนวนเวียน ซ้ำแล้วซ้ำเล่า  ทำให้น้ำสัมผัสกับอากาศได้อย่างทั่วถึง ส่งผลให้ปริมาณ ออกซิเจนในอากาศสามารถ ละลายผสมผสาน เข้าไปในน้ำได้อย่างรวดเร็ว ทุกครั้งที่น้ำถูกตักขึ้นมา ออกซิเจนในอากาศจะละลายในน้ำได้ดีขึ้น เพราะพื้นที่ในการทำปฏิกิริยามีมากกว่าเดิม ทำให้น้ำเสีย ซึ่งเป็นปัญหาของแหล่งน้ำในหลายพื้นที่ มีคุณภาพที่ดีขึ้น อ้างอิง : วิกิพีเดีย.  2560. กังหันน้ำชัยพัฒนา. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา  https://th.wikipedia.org/wiki/กังหันน้ำชัยพัฒนา. (15 ธันวาคม 2560).      

กังหันน้ำพระราชทาน

รูปภาพ
      กังหันน้ำพระราชทาน                 ในช่วง พ.ศ.2531 เป็นต้นมา สภาพความเน่าเสียของน้ำบริเวณต่างๆ มีอัตราแนวโน้มรุนแรงมากยิ่งขึ้น การใช้วิธีธรรมชาติไม่อาจบรรเทาความเน่าเสียของน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร   พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงมีพระราชดำริให้ประดิษฐ์เครื่องกลเดินอากาศแบบประหยัดค่าใช้จ่าย สามารถผลิตได้เองในประเทศ ซึ่งมีรูปแบบ “ไทยทำไทยใช้” โดยทรง      ได้แนวทางจาก “หลุก” กังหันวิดน้ำไม้ไผ่ตามภูมิปัญญาทางภาคเหนือ ซึ่งทรงสังเกตเห็นเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรใน ต.ผาม่อง จ.แม่ฮ่องสอน                   เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ.2531 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานรูปแบบและพระราชดำริ เรื่องการแก้ไขปัญหานำ้เสียโดยการเติมออกซิเจนในนำ้ มีสาระสำคัญคือ                                     "การเติมอากาศลงในนำ้เสีย มี 2 วิธี วิธีหนื่ง ใช้อากาศอัดเข้าไปตามท่อ เป่าลงไปใต้ผิวนำ้แบบกระจายท่อ และอีกวิธีหนึ่ง น่าจะกระทำได้โดยกังหันวิดนำ้ วิดตักขึ้นไปบนผิวนำ้ แล้วปล่อยให้ตกลงไปยังผิวนำ้ตามเดิม โดยที่กังหันนำ้ดังกล่าวจะหมุนช้า

ประวัติความเป็นมาของกังหันน้ำชัยพัฒนา

รูปภาพ
ประวัติความเป็นมา กังหันน้ำชัยพัฒนา                 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 ทรงห่วงใยในความเดือดร้อนทุกข์ยากของราษฎรที่ประสบปัญหาจากนำ้เน่าเสีย พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรสภาพนำ้เสียในพื้นที่หลายแห่งหลายครั้ง ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด พร้อมทั้งพระราชทานพระราชดำริเกี่ยวกับการแก้ไขนำ้เน่าเสีย                  ในระยะแรก ระหว่าง พ.ศ.2527-2530 ทรงเน้นการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในเชิงอนุรักษ์ควบคู่ไปกับการพัฒนา ได้พระราชทานแนวทางปฏิบัติที่เรียบง่ายและเหมาะสม ตั้งแต่แนวคิดเรื่อง "นำ้ดีไล่นำ้เสีย" ด้วยหลักการแก้ไขโดยใช้นำ้ที่มีคุณภาพดีจากแม่นำ้เจ้าพระยาช่วยผลักดันและเจือจางนำ้เสียให้ออกจากแหล่งนำ้ชุมชนตามคลองต่างๆ โดยวิธีเปิดประตูอาคารควบคุมนำ้ เพื่อรับนำ้จากแม่นำ้เจ้าพระยาในจังหวะนำ้ขึ้น และปล่อยออกสู่แม่นำ้เจ้าพระยาในระยะนำ้ลง หรือการทดลองใช้ผักตบชวากรองนำ้เสียในบึงมักกะสัน ซึ่งพระองค์มีพระราชกระแสในเรื่องนี้ว่าเป็นการใช้ "อธรรมปราบอธรรม" นั่นคือ การใช้วัชพืชซึ่งต้องกำจัดทิ้งอย่างผักตบชวา ที่มีคุณสมบัติดูดซ

ประโยชน์ของศาสตร์พระราชาเรื่อง กังหันน้ำชัยพัฒนา

รูปภาพ
กลุ่มข้าพเจ้าได้ศึกษาในศาสตร์พระราชาในเรื่อง โครงงาน กังหันน้ำชัยพัฒนา ได้รับประโยชน์ ดังนี้ 1. ได้แนวทางในการบำบัดน้ำเสีย ที่สร้างลงทุนได้ง่าย และมีต้นทุนต่ำ 2. ได้รู้ศาสตร์พระราชาในโครงการกำหันน้ำชัยพัฒนา เพื่อนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน 3. ได้แนวทางการเพิ่มออกซิเจนในน้ำ เพื่อให้สัตว์ที่เพาะ เช่น ปลานิล เป็นต้น ได้ออกซิเจนเพียงพอต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำเหล่านั้น ความรู้สึกของสมาชิกในกลุ่มหลังจากได้ศึกษา ศาสตร์พระราชา โครงการ กังหันน้ำชัยพัฒนา มีดังนี้                       สมาชิกคนที่ 1 ด.ญ.ลดา นาไชย มีความเห็นว่า   โครงการกังหันน้ำชัยพัฒนาเป็นโครงการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงคิดค้นขึ้นมาเนื่องจากห่วยใยประชาชนกลัวว่าประชาชนจะใช้น้ำที่สกปรก เน่าเสีย พระองค์จึงทรงคิดว่าจะทำอย่างไรให้มีน้ำที่สะอาด ปลอดภัยให้ประชาชนได้ใช้ พระองค์จึงได้มีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการกังหันน้ำชัยพัฒนาขึ้นมา และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ดังนี้  กังหันน้ำชัยพัฒนาใช้ในเปลี่ยนน้ำเสียให้เป็นน้ำดี เพิ่มออกซิเจนในน้ำแล้วทำให้สิ่งมีชีวิตอยู่ในน้ำมีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้นกว่าเด

ผู้จัดทำ

รูปภาพ
คณะผู้จัดทำ ด.ญ. ลดา นาไชย เลขที่ 23 ด.ญ. สินสุรีย์ รักชาติ เลขที่ 24 ด.ญ. ปภาวรินท์ พัฒนพงศ์จรัส เลขที่ 29 ด.ญ. ปัทมวรรณ พัฒนพงศ์จรัส เลขที่ 30 ด.ญ. พิมพ์ชนก กาญจนเกตุ เลขที่ 34 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/11   โ รงเรียนปากช่อง ตำบล ปาช่อง อำเภอ ปากช่อง จังหวัด นครราชสีมา